สารบัญเนื้อหา
คดียักยอกทรัพย์

คดียักยอกทรัพย์ เป็นคดีอะไร​

             เชื่อว่า หลายคนเคยได้ยินคำว่า ยักยอกทรัพย์ หรือ คดียักยอกทรัพย์ แต่อาจไม่รู้ความหมายและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ “การยักยอก” หมายถึง การเบียดบังแอบเอเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่ตนดูแลอยู่มาเป็นของตนเองโดยทุจริต ตามหลักกฎหมายเรียกว่า คดียักยอกทรัพย์ เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัว

คดีอาญา คืออะไร

       คดีอาญา คือ คดีที่เกี่ยวกับการกระทำผิดและต้องโทษตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายอื่น ๆ เช่น พระราชบัญญัติต่าง ๆ ซึ่งมีโทษในทางอาญา โดยผู้เสียหายมีเจตนาฟ้องร้องเพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษตามกฎหมาย ที่มีอยู่ 5 สถาน ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ส่วนต้องรับโทษแบบไหน ขึ้นอยู่กับความผิดและโทษที่กำหนดเอาไว้ตามแต่ละกรณี

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352

     คดียักยอกทรัพย์เป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 กล่าวคือ เป็นความผิดอาญาที่เกี่ยวกับทรัพย์ คือการเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก

กรณีใดบ้างที่เข้าข่ายยักยอกทรัพย์

     การยักยอกทรัพย์ คือ การที่บุคคลหนึ่ง ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริต ลักษณะความผิดฐานยักยอกทรัพย์มีอยู่ด้วยกันหลายกรณี ดังนี้

  1. ยักยอกทรัพย์ที่เป็นการยักยอกทั่วไป เช่น การยืมเครื่องตัดหญ้าของเพื่อนบ้านไปใช้งานแจ้งว่าขอยืมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แต่หลังจากใช้งานแล้วจงใจไม่ส่งคืนโดยมิได้แจ้งเหตุที่ไม่ส่งรถคืนให้เพื่อนบ้านทราบ หรือแอบเอาไปขายชี้ให้เห็นว่ามีเจตนายักยอกทรัพย์
  2. ยักยอกทรัพย์จากการเก็บของที่คนอื่นทำหายได้ แต่ไม่ยอมคืนเจ้าของ หรือยักยอกทรัพย์ที่คน
  3. อื่นให้เพราะเข้าใจผิด เช่น เก็บโทรศัพท์ได้ที่หน้าบ้านจึงเก็บไว้ไม่ตามหาเจ้าของ แต่เจตนาเก็บไว้ใช้เอง หรือซื้อของจากร้านค้า เจ้าของร้านทอนเงินให้ผิดและรู้ว่าผิดแต่ไม่ยอมคืน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการยักยอกทรัพย์
  4. ยักยอกทรัพย์ที่ตัวเองมีหน้าที่ดูแล หรือมีคนอื่นถือกรรมสิทธิ์อยู่ด้วย เช่น นาย ก ให้นาย ข เช่าบ้าน และบอกให้นาย ข ช่วยดูแลทรัพย์สินในบ้านถือเป็นการมอบหมายให้นาย ข ครอบครองทรัพย์ที่อยู่ในบ้านแทนนาย ก แล้ว แต่นาย ข กลับเอาทรัพย์ในบ้านนั้นไปขาย หรือ ซื้อ Notebook มาด้วยกันเพื่อใช้ส่วนกลาง แต่อีกคนกลับเอาไปเป็นของตัวเองคนเดียว ทั้ง 2 กรณี จึงมีความผิดฐานยักยอก
  5. ยักยอกทรัพย์ที่ตัวเองมีหน้าที่จัดการ หรือดูแลตามคำสั่งศาล ตามพินัยกรรม เช่น ผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดก เจ้าหน้าที่ของรัฐยักยอกเงินโครงการไปใช้ส่วนตัว พนักงานขายยักยอกเงินไม่นำเงินเข้าบัญชี แต่นำไปใช้ส่วนตัว
  6. ยักยอกทรัพย์สินมีค่าที่ซ่อนหรือฝังไว้  เช่น ไปขุดเจอไหที่มีทองข้างใน ขุดเจอของโบราณ แต่เราไม่รู้ว่าเป็นของใคร และไม่มีใครสามารถอ้างความเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเก็บไว้เป็นของตน ไม่ส่งคืนให้รัฐกรณีนี้จะมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์

มีขั้นตอนอย่างไร เมื่อต้องการฟ้องคู่กรณียักยอกทรัพย์

      การยักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาและมีความรับผิดทางแพ่งด้วย เมื่อเราเป็นผู้เสียหายหรือเป็นบุคคลที่ถูกยักยอกทรัพย์ สิ่งที่จะต้องทำคือการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ซึ่งความผิดทางอาญามีการกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานยักยอกทรัพย์ที่แตกต่างกัน ส่วนคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้เอาของมาคืน หรือขอให้จ่ายเงินที่ยักยอกเอาไปก็ได้ และอาจจ่ายค่าเสียหายเพิ่มด้วยในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นได้ โดยดำเนินการ ดังนี้

  1. ตรวจสอบข้อเท็จจริง หากมีหลักฐานก็ให้ทำการรวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจภายใน 3 เดือน หลังจากที่แจ้งความร้องทุกข์ไปแล้ว ตำรวจจะออกหมายเรียกคนที่ทำผิดมาสอบสวน และดำเนินการเพื่อรวบรวม พยาน หลักฐานต่าง ๆ ให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องต่อไป
  2. ผู้เสียหาย สามารถฟ้องศาลเองได้ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่รู้ตัวคนทำผิดและรู้เรื่องการกระทำความผิดก่อนที่คดีจะขาดอายุความ ในกรณีที่รู้เรื่องว่ามีการยักยอกทรัพย์อย่างเดียว แต่ยังไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด ยังไม่นับอายุความ ต้องทั้งรู้เรื่องที่เกิดขึ้นและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเขาเป็นใคร จึงนับอายุความ 3 เดือน
  3. หลังจากแจ้งความร้องทุกข์และตำรวจได้ออกหมายเรียกคนที่ทำผิดมาสอบสวน อาจมีการพูดคุยกับทางผู้เสียหาย ว่าต้องการผ่อนชำระบรรเทาความเสียหายได้หรือไม่ และเป็นจำนวนเท่าไหร่ ในระยะเวลากี่เดือน
  4. คดีจะระงับก็ต่อเมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
  5. หากมีการตกลงบรรเทาความเสียหายกันจนเป็นที่พอใจกับฝ่ายผู้เสียหาย ทางเจ้าหนี้หรือผู้เสียหายจะต้องถอนแจ้งความหรือถอนคำร้องทุกข์เพื่อให้คดีอาญาเป็นอันสิ้นสุด ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกับทั้งสองฝ่าย
  6. เมื่อมีการนำคดีขึ้นสู่ศาล จะมีขั้นตอนของการสมานฉันทร์ เพื่อชดใช้ความเสียหาย ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็สามารถขอผ่อนชำระเงินได้

6 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับคดียักยอกทรัพย์

1. คดียักยอกทรัพย์ต้องแจ้งความที่ไหน ?

      เมื่อมีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น เบื้องต้นจะต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อ ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด กับสถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่ทราบเรื่องและรู้ตัวผู้ทำผิด

2. คดียักยอกทรัพย์ ติดคุกกี่ปี ?

     ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ระบุว่า ผู้ใดครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

3. คดียักยอกทรัพย์ ยอมความกันได้ไหม ?

       คดียักยอกทรัพย์ แม้จะเป็นคดีอาญา มีโทษหนักถึงจำคุกแต่ก็สามารถยอมความกันได้ เนื่องจาก เป็นความผิดซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเอกชนคนหนึ่งคนใดเป็นส่วนตัว มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือสังคม

4. โดนคดียักยอกทรัพย์ต้องทำยังไง ?

     คดียักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัว หรือความผิดอันยอมความได้ ดังนั้น เมื่อโดนคดี

ยักยอกทรัพย์ ก่อนฟ้องคดีต่อศาล ผู้กระทำผิดควรไปเจรจารพูดคุยกันทางผู้เสียหายก่อน ว่ามีแนวทางบรรเทาความเสียหายอย่างไร เช่น

  • พูดคุยกับผู้เสียหาย ว่าต้องการผ่อนชำระบรรเทาความเสียหายได้หรือไม่ 
  • กรณีมีการแจ้งความกับทางตำรวจไว้แล้ว เมื่อได้รับหมายเรียก ควรไปพบตำรวจตามหมาย และควรพูดคุยบรรเทาความเสีย ผ่านทางเจ้าหน้าที่ 
  • หากมีการตกลงบรรเทาความเสียหายกันจนเป็นที่พอใจกับทางผู้เสียหายแล้ว ควรมีการทำสัญญาเพื่อให้ผู้เสียหาย ถอนแจ้งความหรือถอนคำร้องทุกข์เพื่อให้คดีอาญาเป็นอันสิ้นสุด

5. คดียักยอกทรัพย์ อายุความกี่ปี ?

     คดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ เป็นคดีอันยอมความได้กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ หรือฟ้องเป็นคดีอาญา ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เพื่อดำเนินคดีมิฉะนั้นคดีจะขาดอายุความ แต่ถ้ารู้เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันเกิดเหตุแล้ว จะดำเนินคดีไม่ได้ เพราะคดีขาดอายุความ

6. คดียักยอกทรัพย์ ประกันตัวเท่าไหร่ ?

     การขอปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะมีค่าใช้จ่ายหรือหลักทรัพย์ ที่จะใช้ประกัน ซึ่งจะต้องใช้จำนวนวงเงินประกันตัว มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่ตามความผิดอาญาข้อหาที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการขอออกหนังสือรับรองหลักทรัพย์ประกันต่าง ๆ มายื่นประกอบกับหลักทรัพย์ด้วย เช่น 

  • ในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี ให้ศาลใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ 

โดยไม่ต้องมีประกัน หากมีเหตุจำเป็น ต้องมีประกันให้กำหนดวงเงิน ไม่เกิน 200,000 บาท เว้นแต่มีเหตุสมควรที่จะสั่งเป็นอย่างอื่น

สำนักงานกฎหมายธนกฤช

25 ซอยเจริญนคร 36 ถนนเจริญนคร แขวงบางลำภูล่าง กรุงเทพมหานคร 10600

สาระความรู้กฏหมาย