สารบัญเนื้อหา

คดีอาญา คืออะไร

         การกระทำความผิดจนกลายเป็นคดีความ เป็นปัญหาทางสังคมที่เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากชาวบ้านขาดความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายอย่างถูกต้อง เพราะกฎหมายมีความซับซ้อน ต้องตีความ และเป็นเรื่องยากที่จะทำการเข้าใจ เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานที่เปรียบเสมือนอาวุธไว้ป้องกันตนเองจากการกระทำความผิด https://thanalaw.co.th/  ความหมายและความรู้เกี่ยวคดีอาญามาแนะนำครับ

      คดีอาญา คือ คดีที่เกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่น ๆ เช่น พระราชบัญญัติต่าง ๆ ซึ่งมีโทษในทางอาญา โดยโทษทางอาญา มี 5 สถาน ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ความผิดอาญา เช่น ทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน ขโมยของไป หรือทำร้ายจิตใจ

คดีอาญามีกี่ประเภท

      ความผิดทางอาญามี 2 ประเภท คือ ความผิดต่อส่วนตัวสามารถยอมความได้ และความผิดอาญาแผ่นดินยอมความไม่ได้ ดังนี้

1. ความผิดต่อส่วนตัว

     สามารถยอมความได้ เป็นความผิดในตัวเอง คือ ความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ความผิดประเภทนี้ เมื่อยอมความกันแล้วการดำเนินคดีก็จะสิ้นสุดลง เช่น

  • การหมิ่นประมาท
  • การทำให้เสียทรัพย์
  • การฉ้อโกง
  • การยักยอกทรัพย์

2. ความผิดอาญาแผ่นดิน

     ยอมความไม่ได้ เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม คือ ความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด และเป็นความผิดที่ทำให้สังคมเสียหาย โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรม แม้ไม่มีการแจ้งความ เจ้าหน้าที่ก็สามารถดำเนินคดีได้ และอัยการสั่งฟ้องได้โดยไม่มีต้องมีผู้เสียหายร้องทุกข์ เช่น

  • ความผิดฐานฆ่าคนตาย 
  • ชิงทรัพย์ 
  • ปล้นทรัพย์ 
  • ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 
  • บุกรุกในเวลากลางคืนหรือมีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
  • ฉ้อโกงประชาชน
  • ลักทรัพย์

โทษทางอาญา 5 สถาน

     อัตราโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 กำหนดโทษทางอาญาไว้ 5 สถาน เรียงลำดับจากหนักที่สุดไปเบาที่สุด ได้แก่

  1. โทษประหารชีวิต ปัจจุบันดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย
  2. โทษจำคุก โดยผู้ต้องโทษจะถูกขังในเรือนจำ วันแรกที่เข้าไปในคุกจะถูกนับเป็น 1 วันเต็ม ไม่จำเป็นต้องครบ 24 ชม. กรณีกำหนดระยะจำคุกเป็นเดือนจะนับ 30 วันเต็ม เป็น 1 เดือน หากกำหนดเป็นปี ใช้การคำนวณปีปฏิทิน
  3. โทษกักขัง ผู้ต้องโทษจะถูกกักขังไว้ในสถานที่กักขังที่ไม่ใช่เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
  4. โทษปรับ  เป็นการนำเงินของผู้ถูกปรับเข้ารัฐ มิใช่นำไปให้แก่ผู้เสียหาย โดยผู้ต้องโทษต้องชำระเงินตามจำนวนที่ศาลสั่ง หากไม่จ่ายภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา อาจถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือถูกกักขังแทนค่าปรับ กรณีศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจะไม่จ่ายค่าปรับ ศาลอาจสั่งให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับไปก่อนก็ได้ ถืออัตรา 500 บาทต่อหนึ่งวัน และหักวันขังในวันที่ถูกควบคุมตัวมาก่อนด้วย ไม่ว่าจะเป็นชั้นสอบสวนหรือชั้นศาล
  5. โทษริบทรัพย์ จะริบเฉพาะทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทาความผิดเท่านั้น หรือเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการทำความผิด 

คดีอาญา ต้องฟ้องศาลไหน

     มาตรา 157 บัญญัติว่า “การฟ้องคดีอาญาให้ยื่นฟ้องต่อศาลใดศาลหนี่งที่มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น” การฟ้องคดีอาญาต่อศาลใดศาลหนี่งที่มีอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 157 แบ่งออก 2 กรณี

1. ศาลที่มีอำนาจตามมาตรา 22 ถึงมาตรา 27 เรียกว่า เขตศาล 

  • โดยหลักแล้ว ความผิดเกิดขึ้นอ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลใดให้ชำระที่ศาลนั้น
  • อาจมียกเว้นหลายประการ เช่น ให้ชำระที่ศาลในท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับ หรือให้ชำระที่ศาลในท้องที่ที่มีการสอบสวน หรือโอนคดี

2. ศาลที่มีอำนาจตามกฎหมายอื่น เรียกว่า อำนาจศาล

คดีอาญา กับ คดีแพ่ง ต่างกันอย่างไร

    คดีอาญา คือ คดีที่มีผู้กระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา การดำเนินคดีอาญาจะเป็นไปเพื่อพิสูจน์ความผิดและให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษเพื่อชดใช้สิ่งที่ได้ทำลงไป การดำเนินคดีอาญาจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์สำหรับคดีอาญาอันยอมความได้ ส่วนคดีอาญาแผ่นดิน การดำเนินคดีจะเริ่มต้นขึ้นทันทีที่มีการกระทำความผิด เพราะคดีประเภทนี้เป็นคดีที่มีความเสียหายต่อประชาชนโดยรวม และรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง การดำเนินคดีจึงเริ่มต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์

คดีแพ่ง คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหน้าที่กันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย แบ่งเป็น คดีมีข้อพิพาท และ คดีไม่มีข้อพิพาท ดังนี้

  • คดีมีข้อพิพาท มีการโต้แย้งสิทธิ หน้าที่กัน เช่น ฟ้องให้จ่ายหนี้ ฟ้องผิดสัญญาซื้อขาย ฟ้องเรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ฟ้องเรียกค่าปรับคืน ฟ้องเรียกค่านายหน้า
  • คดีไม่มีข้อพิพาท เป็นคดีที่จะต้องร้องขอให้ตัวเองมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งจากศาล เช่น ขอเป็นผู้จัดการมรดก ขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ ขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือสาบสูญ ขอแสดงสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

     การดำเนินคดีแพ่งจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการฟ้องศาล เพราะคดีแพ่งเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล ที่สามารถตกลงกันเองได้โดยไม่ต้องให้รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง

8 คำถามที่พบบ่อย คดีอาญา

1. คดีอาญาสามารถยอมความกันได้หรือไม่ ?

    ตอบ  คดีอาญา ไม่สามารถยอมความกันได้ เพราะเป็นคดีที่มีความเสียหายต่อประชาชนโดยรวม และรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง  ยกเว้นเป็นความผิดต่อส่วนตัว

2. คดีอาญา ที่มีความเสียหายต่อประชาชนโดยรวม หากไม่มีผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ ดำเนินคดีได้หรือไม่

    ตอบ สามารถดำเนินคดีได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้เสียหา

3. การดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหายสามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง

     ตอบ ทำได้โดย ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องคดีด้วยตนเองต่อศาล

4. คดีอาญามีอายุความกี่ปี

     ตอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 บัญญัติไว้ว่า ในคดีอาญา ถ้า มิได้ฟ้อง และได้ตัว ผู้กระทำความผิดมายังศาล ภายในกำหนด ดังต่อไปนี้ นับแต่ วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

  1. 20 ปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุก 20ปี
  2. 15 ปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก กว่าเจ็ดปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี
  3. 10 ปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก กว่า 1 ปี ถึง  7 ปี
  4. 5 ปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก กว่า 1 เดือน ถึง 1 ปี
  5. 1 ปี สำหรับความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก ตั้งแต่ 1 เดือนลงมา หรือ ต้องระวางโทษอย่างอื่น

5. คดีอาญา ถอนฟ้องได้ไหม

    ตอบ คดีอาญา สามารถถอนฟ้องได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องผู้กระทำความผิดไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ถอนฟ้อง แต่โดยมีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์การถอนฟ้อง ทั้งนี้หลักเกณฑ์การถอนฟ้อง มีทั้งการถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว(ความผิดอันยอมความได้) และการถอนฟ้องในคดีผิดอาญาแผ่นดิน (ความผิดอันยอมความได้)

6. คดีอาญาต่อสู้กี่ศาล คดีสิ้นสุด

     ตอบ คดีอาญาในกระบวนการยุติธรรม โจทก์และจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ 3 ชั้นศาล ได้แก่ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา  การให้สิทธิคู่ความต่อสู้คดีได้ 3 ชั้นศาล ก็เพื่อให้โอกาสได้ต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ และยังเป็นการเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบและทบทวนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยศาลสูงตามลำดับ 

7. คดีอาญา ติดคุกไหม

     ตอบ คดีอาญา เป็นคดีที่เกี่ยวกับการกระทำผิดและต้องโทษตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายอื่น รวมทั้งพระราชบัญญัติต่าง ๆ ซึ่งมีโทษอยู่ 5 สถาน คือ โทษประหารชีวิต การจำคุก กักขัง โทษปรับ  และ โทษริบทรัพย์  ดังนั้นคดีอาญาจึงเป็นโทษที่ต้องจำคุกหรือติดคุก แต่ทั้งนี้ต้องรับโทษแบบไหน ขึ้นอยู่กับความผิดและโทษที่กำหนดเอาไว้ตามแต่ละกรณี

8. คดีอาญา ไม่มีทนาย ทำอย่างไร

     ตอบ การเป็นคดีความ โดยเฉพาะคดีอาญา ไม่มีทนายความได้หรือไม่ ตามหลักกฎหมายไม่ได้บังคับว่าเราจะต้องมีทนายความเพื่อเริ่มต้นฟ้องร้อง แต่เนื่องจากทนายความเชี่ยวชาญเรื่องของกฎหมาย รู้กระบวนการและขั้นตอนของการดำเนินคดี การมีทนายจึงมีประโยชน์ต่อคดีมากกว่า

สำนักงานกฎหมายธนกฤช

25 ซอยเจริญนคร 36 ถนนเจริญนคร แขวงบางลำภูล่าง กรุงเทพมหานคร 10600

สาระความรู้กฏหมาย