สารบัญเนื้อหา

การตรวจหลักทรัพย์ คืออะไร

การตรวจหลักทรัพย์ คือ การตรวจหลักฐานทะเบียนที่ดินที่ผู้ขอทราบเฉพาะชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล แต่ไม่ทราบรายละเอียดหือเลขที่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โดยผู้ขอต้องทราบว่าบุคคล หรือนิติบุคคลมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน แปลงใด ห้องชุดใดบ้าง และอยู่ ณ ที่ใด

     ที่ดิน เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่า และไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ หรือหากเคลื่อนย้ายหรือทำลายได้ก็จะทำได้อย่างยากลำบาก ปัญหาคดีความเกี่ยวกับที่ดิน จึงมีทั้งสิทธิ์ที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น สิทธิครอบครองที่ดิน และสิทธิในการอยู่อาศัย รวมถึงการซื้อขายที่จะต้องมีการตรวจกรรมสิทธิ์หรือตรวจหลักทรัพย์ เพื่อช่วยป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการซื้อขาย

การตรวจหลักทรัพย์ สำคัญอย่างไร

      การตรวจหลักทรัพย์ หรือพิสูจน์สิทธิในที่ดิน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้ประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ตามแนวคิดที่เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้

1. การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน

     เป็นการจัดการความขัดแย้งรูปแบบหนึ่ง รวมทั้งเป็นการให้ความเป็นธรรมกับประชาชนในเชิงแก้ไข โดยความเป็นธรรมในที่นี้ หมายความว่า ความถูกต้อง สภาวะที่ตรงกับความเป็นจริง คือ เป็นความยุติธรรมตามความเป็นจริงด้วย

2. ป้องกัน

     เป็นการไม่ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินกับผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่อาจมีการบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์

3. การผสมผสานรูปแบบการแก้ไขปัญหา

     โดยอาศัยหลักกฎหมาย นโยบาย และวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กันโดยกำหนดให้มีการพิจารณาพยานหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เช่น พยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุ เป็นต้น

4. เปิดโอกาสให้คู่กรณี

     สามารถรับรู้ข้อมูลนำเสนอพยานหลักฐานใด ๆ หรือโต้แย้งสิทธิในกระบวนการสอบสวน หรือการรวบรวมข้อมูลได้ตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด

ใครบ้างมีสิทธิ์ตรวจหลักทรัพย์

การตรวจสอบข้อมูลของบุคคลหรือนิติบุคคลใดว่ามีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ใดบ้าง นั้น การเปิดเผยจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูลให้ไว้ล่วงหน้า หรือในขณะนั้น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมาย มาตรา 24 (8) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งได้แก่

  1. เอกชนผู้มีสิทธิ์ตามกฎหมาย ได้แก่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลถึงที่สุด หรือทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้
  2. หน่วยงานของรัฐ หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม
  3. หน่วยงานของรัฐ ซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึง หน่วยงานขิงรัฐที่มีกฎหมายรับรองให้อำนาจในการตรวจสอบหลักทรัพย์

การขอตรวจสอบหลักทรัพย์

     การขอตรวจสอบหลักทรัพย์ มีหลักเกณฑ์ วิธีการในการยื่นคำขอ โดยผู้ขอต้องมีสิทธิตรวจสอบหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมาย เช่น คำพิพากษา/คำสั่งศาลถึงที่สุด และแจ้งความประสงค์ว่าขอตรวจสอบเพื่อประโยชน์อย่างไร หรือเป็นการขอตรวจสอบเพื่อขอทราบว่าผู้ที่ขอตรวจสอบมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือห้องชุด​หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นใดหรือไม่ 

หลักฐานประกอบการยื่นคำขอ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน​
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. หลักฐานที่แสดงว่ามีสิทธิตรวจสอบหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมาย เช่น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลถึงที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ เบื้องต้นและรับบัตรคิวตามลำดับก่อนหลัง
  2. ยื่นคำขอ สอบสวนผู้ขอว่าเป็นผู้มีสิทธิตรวจสอบหลักทรัพย์ ชำระเงิน ตรวจสอบ
  3. เจ้าพนักงานที่ดินอนุมัติ ถ่ายเอกสาร รับรองสำเนาเอกสาร และแจกเอกสารให้ผู้ขอระยะเวลาดำเนินการ สำหรับระยะเวลาในการขอตรวจสอบหลักทรัพย์ ขั้นตอนที่ 2 – 3 ใช้ระยะเวลาประมาณ  40 นาที 

ค่าธรรมเนียม/ประเภท

  • คำขอ (เก็บตามจำนวนลูกหนี้ที่ขอตรวจสอบ) ประเภทที่ดินสิ่งปลูกสร้าง รายละ 5 บาท ประเภท ห้องชุด รายละ 20 บาท
  • ค่าตรวจสอบข้อมูลด้านทะเบียนที่ดิน จากสื่อบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือสิ่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ประเภทที่ดินสิ่งปลูกสร้าง ครั้ง 100 บาท ประเภท ห้องชุด ห้องชุดละ 100 บาท
  • ค่ารับรองเอกสารที่คัด หรือสำเนา ประเภทที่ดินสิ่งปลูกสร้าง ฉบับละ 10 บาท ประเภท ห้องชุด ฉบับละ 10 บาท
  • ค่าจัดทำสำเนาจากสื่อบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือสิ่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ประเภทที่ดินสิ่งปลูกสร้าง แผ่นละ 50 บาท ประเภท ห้องชุด แผ่นละ 50 บาท
  • ค่ามอบอำนาจ ประเภทที่ดินสิ่งปลูกสร้าง เรื่องละ 10 บาท ประเภท ห้องชุด เรื่องละ 10 บาท

บริษัท สำนักกฎหมายธนกฤช เรามีความชำนาญ ในการสืบทรัพย์บังคับคดี มีประสบการณ์ด้านคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา หากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ เราบริการให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

สำนักงานกฎหมายธนกฤช

25 ซอยเจริญนคร 36 ถนนเจริญนคร แขวงบางลำภูล่าง กรุงเทพมหานคร 10600

สาระความรู้กฏหมาย