สารบัญเนื้อหา

การสืบทรัพย์บังคับคดี

          ปัญหาหนักใจที่เจ้าหนี้หลายคนพบเจอก็คือการที่ลูกหนี้แพ้คดี และศาลมีคำสั่งให้จำเลยหรือลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แต่ลูกหนี้บางคนไม่ยินยอมชำระหนี้ สิ่งที่ช่วยให้เจ้าหนี้ได้รับเงินจากคู่กรณี ก็คือ การสืบทรัพย์บังคับคดี หากเราไม่มีความรู้ด้านกฎหมายควรทำอย่างไร และสืบทรัพย์ หมายถึงอะไร สำนักกฎหมายธนกฤช มีความรู้มาแนะนำครับ

สืบทรัพย์ หมายถึงอะไร

     การสืบทรัพย์ เป็นการสืบหาทรัพย์สินหรือของมีค่าของลูกหนี้ที่มีอยู่ ที่ตั้งของทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน สิ่งปลูกสร้าง และสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน สินค้าที่สามารถทำการยึดหรืออายัดได้ทั้งปวง บัญชีเงินฝากธนาคาร เพื่อดำเนินการบังคับคดี โดยการอายัดหรือยึดทรัพย์ของลูกหนี้ออกขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา 

การสืบทรัพย์ก่อนฟ้อง

    การสืบทรัพย์จะเริ่มขึ้นหลังจากมีคำพิพากษาของศาลให้ลูกหนี้ชดใช้ และดำเนินการบังคับคดี เพื่อให้ลูกหนี้ได้รับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  เจ้าหนี้สามารถยึดหรืออายัดเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ดังนี้

1. ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถยึดได้

  • บ้าน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ ทั้งที่ติดจำนองหรือไม่ติดจำนอง
  • รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
  • ของมีค่า เครื่องประดับที่มีมูลค่า เพชร พลอย นาฬิกา สร้อยคอทองคำและของสะสมที่มีมูลค่ารวมเกิน100,000 บาท
  • ของใช้ส่วนตัว อาทิ เสื้อผ้า โต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ ที่มีมูลค่ารวมกันเกิน 20,000 บาท
  • เครื่องมือในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ที่มีมูลค่ารวมกันเกิน 100,000 บาท
  • ทรัพย์สินประเภทสัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่ใช้ในการช่วยเหลือหรือแทนอวัยวะ

2. ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถอายัดได้

  • เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะจ่ายค่าตอบแทนการจ้างงานเป็นรายเดือน อายัดได้ไม่เกิน 30% โดยต้องเป็นลูกหนี้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท
  • เงินโบนัส สามารถอายัดได้ แต่ต้องอายัดได้ไม่เกิน 50 %
  • เงินค่าตำแหน่งทางวิชาการ อายัดได้เฉพาะที่เป็นสังกัดเอกชน เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน
  • เงินที่ตอบแทนการออกจากงาน โดยปกติอายัดได้ไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามเจ้าหน้าที่บังคับคดีเห็นสมควร
  • งินค่าตอบแทนจากการทำงานเป็นชั่วคราว อายัดได้ไม่เกิน 30 %
  • เงินฝากในบัญชี สถาบันการเงิน
  • เงินปันผลจากการลงทุนในหุ้น
  • ค่างวดงานตามสัญญาจ้าง
  • ค่าเช่าทรัพย์สิน

ระยะเวลาการสืบทรัพย์บังคับคดี

   หลังจากชนะคดีมีคำพิพากษาออกมาแล้ว กฎหมายให้เวลาเจ้าหนี้ในการสืบทรัพย์และดำเนินการบังคับคดีกับลูกหนี้เป็นเวลา 10 ปี หากพ้นระยะเวลา 10 ปีไปแล้ว เจ้าหนี้ไม่สามารถดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ได้ หมายความว่า นับจากวันที่มีคำพิพากษาเจ้าหนี้สามารถดำเนินการสืบทรัพย์บังคับคดีได้ และเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการบังคับคดีได้ก่อน 10 ปี และมีการยึดทรัพย์ของจำเลยได้เป็นบางส่วนแล้ว แม้ลูกหนี้จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาเกิน 10 ปีแล้ว หนี้สินส่วนที่เหลือก็ยังถูกยึดทรัพย์ได้ตลอดไปไม่มีระยะเวลาแล้ว หรือจนกว่าจะหมดหนี้ 

     ข้อควรระวังของเจ้าหนี้ สำหรับระยะเวลาการสืบทรัพย์บังคับคดี กรณีหลังจากได้คำพิพากษามาแล้ว เจ้าหนี้ไม่สามารถสืบทรัพย์บังคับคดีได้ภายในระยะเวลา 10 ปี หากพ้นระยะเวลานี้แล้ว แม้ลูกหนี้จะมีเงินทองหรือทรัพย์สินขึ้นมา เจ้าหนี้ตามกฎหมายก็ไม่สามารถไปดำเนินการยึดหรืออายัดได้

3 คำถามที่พบบ่อย ของการสืบทรัพย์บังคับคดี

1. เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์ของลูกค้า ซึ่งติดจำนองธนาคารหรือบุคคลอื่นได้หรือไม่ ?

    ตอบ  สามารถดำเนินได้ ถ้าเจ้าหนี้จำานองขอรับชำาระหนี้บุริมสิทธิ (ขอรับชำาระหนี้จำนอง) ต่อศาลและศาลมีคำาสั่งอนุญาตเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจะจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จำานองเป็นอันดับแรก ถ้ามีเงินเหลืออีก จึงจะจ่ายให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์

2. กรณีลูกหนี้เป็นพนักงานประจำ และทรัพย์ของลูกหนี้มีมูลค่าไม่เพียงพอกับหนี้ สามารถให้ พนักงานบังคับคดียึดหทรัพย์ และอายัดเงินเดือนไปพร้อมกันได้หรือไม่

   ตอบ  การบังคับคดีเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ ที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์หรืออายัดเงินเดือนอย่างใดก่อนก็ได้ หรือจะดำาเนินการพร้อมกันก็ได้ แต่ราคาทรัพย์ที่ยึดและจำนวนเงินที่มีการอายัดรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินหนี้ตามคำาพิพากษา

3. เจ้าหนี้สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนคู่สมรสของลูกหนี้ไปที่นายจ้าง ของคู่สมรสของลูกหนี้ได้หรือไม่ ?

     ตอบ  เงินเดือนของคู่สมรสของลูกหนี้ที่ยังไม่ได้จ่ายให้แก่คู่สมรส เป็นสิทธิเรียกร้องที่คู่สมรสของลูกหนี้เท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัทฯนายจ้างได้ ยังไม่ใช่สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำานาจอายัดเงินเดือนของคู่สมรสลูกหนี้ไปที่บริษัทฯ นายจ้างของคู่สมรสลูกหนี้ได้

ทนาย สืบทรัพย์ได้ไหม

     ทนายความ คือ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าความ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการทางกฎหมายให้กับบุคคลหรือองค์กร จึงสามารถทำหน้าที่สืบทรัพย์ได้ เนื่องจากการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ ซึ่งต่างจากการบังคับคดีเพื่อให้ลูกหนี้ได้รับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นหน้าที่ของกรมบังคับคดี แต่เจ้าหนี้ส่วนหนึ่งไม่มีความรู้เรื่องสิทธิและหน้าที่ของตนเองในกระบวนการยุติธรรม ประกอบกับลูกหนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่ยินยอมที่จะบอกเจ้าหนี้ว่าตนเองมีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้าง อีกทั้งการสืบทรัพย์ยังเป็นการดำเนินการใด ๆ โดยถูกต้องตามกฎหมาย การว่าจ้างทนายความจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดนอกจากทำให้การสืบทรัพย์เพื่อการบังคับคดีเป็นไปตามคำพิพากษา ยังช่วยให้เจ้าหนี้มีโอกาสได้เงินคืนมากที่สุด  

ขั้นตอนการ สืบทรัพย์และบังคับคดี

  1. หมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการสืบทรัพย์สินลูกหนี้
  2. สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยการสืบค้นว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินที่เป็น บ้าน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ ของมีค่า เครื่องประดับที่มีมูลค่า และอื่น ๆ หรือไม่
  3. เมื่อเจอทรัพย์สินลูกหนี้แล้ว จะดำเนินการตั้งเรื่องยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ ต้อกรมบังคับคดีเพื่อดำเนินการรอการขายทอดตลาด
  4. เมื่อยึดแล้ว เข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด เมื่อขายได้แล้วก็จะได้รับชำระหนี้เงินที่ได้จาก

การขายทอดตลาดให้แก่เจ้าหนี้ต่อไป

รับสืบทรัพย์บังคับคดี โดยทนายมืออาชีพ

     บริษัท สำนักกฎหมายธนกฤช จำกั ให้บริการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางกฎหมายทางธุรกิจ เช่น การสืบทรัพย์บังคับคดี ยึดทรัพย์ บังคับคดี คดีว่าจ้างทำของ คดียักยอกทรัพย์ เป็นต้น สามารถติดต่อได้ทาง : 02 439 3486

สำนักงานกฎหมายธนกฤช

25 ซอยเจริญนคร 36 ถนนเจริญนคร แขวงบางลำภูล่าง กรุงเทพมหานคร 10600

สาระความรู้กฏหมาย