สารบัญเนื้อหา

คุณสมบัติของ ที่ปรึกษากฎหมาย

       กฎหมาย คือข้อบังคับที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุม ความประพฤติของบุคคลในสังคม เป็นเสมือนกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของสังคมมนุษย์ แต่ด้วยความยากต่อการเข้าใจของข้อกฎหมาย ที่ต้องมีการวิเคราะห์ ตีความต่าง ๆ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ

   ที่ปรึกษากฎหมาย คือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย ซึ่งอาจเป็นทนายความ นักกฎหมาย หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางกฎหมายในแต่ละสาขา เช่น กฎหมายธุรกิจ กฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สิน หรือกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

12 คุณสมบัติของ ที่ปรึกษากฎหมาย

     ที่ปรึกษากฎหมาย หรือทนายความต้องเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงาน องค์กร และบุคลทั่วไปในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ที่ปรึกษากฎหมาย ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. จบปริญญาตรีในสาขาวิชานิติศาสตร์หรือสูงกว่า
  2. จบการศึกษาเนติบัณฑิตหรือปริญญาโทในสาขาวิชากฎหมาย ทั้งในปนะเทศไทย และจากต่างประเทศ
  3. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพ
  4. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
  5. มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและประสานงานในการให้บริการทางกฎหมาย
  6. มีใบอนุญาตให้เป็นทนายความ และทำหน้าที่ทนายความในการดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง 
  7. ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย
  8. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม
  9. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการ หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ
  10. มีความสนใจในด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม
  11. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้ได้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
  12. ต้องซื่อตรงต่อผู้รับบริการ ผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วมสำนักงาน และตนเอง

หน้าที่ของที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

  1. ให้คำแนะนำทางด้านกฎหมายต่อหน่วยงาน องค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน รวมถึงการให้คำปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงทางกฎหมาย การจัดทำเอกสารทางกฎหมาย การแก้ไขข้อพิพาททางกฎหมาย และช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยทางกฎหมายในองค์กรธุรกิจ หรือการวางแผนทางกฎหมาย การจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือการเป็นตัวแทนในการเจรจาและดำเนินคดีให้กับบุคคลที่ประสบปัญหาและเป็นคดีความ
  2. ให้คำแนะนำเรื่องของข้อคิดเห็นด้านร่างพระราชบัญญัติ กฎ คำสั่ง ระเบียบข้อบังคับรวมถึงเอกสารอันเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น 
  3. ร่างพระราชบัญญัติและเอกสารต่างๆ ตามที่องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่องค์กรทั้งภารรัฐและองค์กรเอกชน จะมอบหมายหน้าที่ทางด้านกฎหมายให้กับที่ปรึกษาด้านกฎหมายไปเลย เนื่องจากที่ปรึกษาด้านกฎหมายจะมีความรู้ความเข้าใจในด้านนี้อย่างดี 
  4. จัดการด้านร่างพระราชบัญญัติและเอกสารต่างๆ ตามที่องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ต้องการ
  5. ทำหน้าที่ตีความเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ ข้อผูกพันต่างๆ ทางด้านกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสถานประกอบการเพื่อให้ฝ่ายจัดการที่อยู่ในระดับสูงกว่ารับทราบ
  6. ช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ทนายความประจำสถาน ประกอบการเกี่ยวกับเรื่องของการว่าความในคดีต่างๆ ทางชั้นศาล หรือในกรณีที่องค์กร หรือหน่วยงานนั้น ๆ ไม่มีทนายความประจำองค์กร หากต้องขึ้นศาลจะต้องมีการจ้างทนายมาเพื่อสู้คดี ที่ปรึกษาด้านกฎหมายสามารถเป็นผู้ที่ช่วยเหลือทั้งการแนะนำข้อมูลหรือเพิ่มเติมรายละเอียดในชั้นศาลได้เช่นเดียวกัน 
  7. ศึกษาและเตรียมความพร้อมในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกความ และเพื่อให้แน่ใจว่าประเด็นต่างๆ จะได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี
  8. จัดทำความเห็นทางกฎหมายและดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในกรณีที่มีการดำเนินคดีในศาล
  9. ร่าง ตรวจสอบ และแก้ไขสัญญาทางธุรกิจ รวมถึงเอกสารต่างๆ ทางกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจของลูกความ
  10. ประสานงานกับหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อบรรลุเป้าหมายของการบริการทางกฎหมาย

บริษัท สำนักกฎหมายธนกฤช จำกัด ดำเนินธุรกิจด้านกฎหมาย และให้บริการทางกฎหมายด้านต่าง ๆครอบคลุมทุกมิติ ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา รับปรึกษาทางกฎหมาย เจรจา ไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้สิน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญา เช่น สัญญาผู้ถือหุ้น สัญญาร่วมลงทุน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างก่อสร้าง สัญญาซื้อ/ขาย สัญญาซื้อ/ขายสินทรัพย์ สัญญาแฟรนไชส์ สัญญาบริการ สัญญาธุรกิจ และสัญญาอื่นทุกประเภท 

อ้างอิง

สำนักงานกฎหมายธนกฤช

25 ซอยเจริญนคร 36 ถนนเจริญนคร แขวงบางลำภูล่าง กรุงเทพมหานคร 10600

สาระความรู้กฏหมาย