สารบัญเนื้อหา

ผู้รับเหมาทิ้งงาน ต้องทำอย่างไร

      เชื่อว่าปัญหาใหญ่ที่คนมีบ้านหลายคนประสบพบเจอมาแล้ว ก็คือ “ผู้รับเหมาทิ้งงาน หรือใช้วัสดุไม่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรับเหมาก่อสร้าง ต่อเติม และออกแบบตกแต่ง ทำให้ต้องสูญเสียเงิน เสียเวลาและอาจมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมาย หากพบปัญหาเหล่านี้ผู้ว่าจ้างควรทำอย่างไร สำนักงานกฎหมายธนกฤช มีความรู้มาแนะนำ ครับ

   ปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน สร้างความเสียหายให้แก่ผู้ว่าจ้างในหลาย ๆ ด้าน ทั้งความล่าช้าทำให้งบประมาณบานปลาย เพราะอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าวัสดุ ค่าแรง และค่าจ้างผู้รับเหมารายใหม่ ผู้ว่าจ้างที่ถูกผู้รับเหมาทิ้งงานสามารถฟ้องคดีแพ่ง และคดีอาญา ได้ 

ผู้รับเหมาทิ้งงาน แจ้งความได้ไหม

   ผู้รับเหมาทิ้งงาน คือ การที่ผู้รับเหมาหยุดทำงานก่อนงานจะเสร็จสมบูรณ์ตามสัญญา หรือตามที่ตกลงกันไว้ การทิ้งงานของผู้รับเหมามักจะทิ้งงานโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า เช่น การว่าจ้างผู้รับเหมาเพื่อก่อสร้าง ต่อเติม ออกแบบตกแต่ง ซ่อมแซม รีโนเวทบ้าน อาคารพาณิชย์ วางระบบไฟฟ้า น้ำประปา หรือจัดสวน ในกรณีเกิดปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน สามารถแจ้งความฟ้องดำเนินคดีและให้ผู้รับเหมาชำระค่าเสียหายต่าง ๆ ได้ แต่สิ่งแรกที่ผู้ว่าจ้างควรทำคือ ตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด แล้วดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

ตรวจสอบสัญญา

     เมื่อมีสัญญาณบ่งบอกแน่ชัดว่าถูกผู้รับเหมาทิ้งงาน ให้ตรวจสอบข้อตกลงในสัญญาซึ่งส่วนใหญ่จะระบุในสัญญาให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของแบบบ้านหรือลักษณะสิ่งปลูกสร้าง ราคา และรายละเอียดการขั้นตอนการจ่ายเงิน และอื่น ๆ

เจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อหาทางออกร่วมกัน

     การที่ผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้างผู้รับจ้างทำการก่อสร้างบ้าน หรือออกแบบตกแต่ง ซ่อมแซม รีโนเวท บ้าน  และอื่น ๆ อาจมีการทำสัญญาว่าจ้างหรือเจรจาว่าจ้างโดยไม่มีสัญญาจ้าง สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อถูกผู้รับเหมาทิ้งงาน คือการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยการติดต่อหาผู้รับเหมานัดมาพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อหาแนวทางแก้ไขหรือหาทางออกร่วมกัน เช่น ปรับเปลี่ยนข้อตกลง ให้งานก่อสร้างสามารถดำเนินต่อไปได้ 

การดำเนินคดีทางกฎหมาย

   กรณีไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ หรือไม่สามารถติดต่อผู้รับเหมาได้ สามารถเข้าร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือแจ้งความฟ้องดำเนินคดีกับผู้รับเหมาได้

ผู้รับเหมาทิ้งงาน ฟ้องอะไรได้บ้าง เป็นคดีอะไร

   ปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน สร้างความเสียหายให้แก่ผู้ว่าจ้างในหลาย ๆ ด้าน ทั้งความล่าช้าทำให้งบประมาณบานปลาย เพราะอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าวัสดุ ค่าแรง และค่าจ้างผู้รับเหมารายใหม่ ผู้ว่าจ้างที่ถูกผู้รับเหมาทิ้งงานสามารถฟ้องคดีแพ่ง และคดีอาญา ได้ 

ด้านคดีแพ่ง

     ผู้ว่าจ้างสามารถฟ้องคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587, มาตรา 593, มาตรา 599, มาตรา 600 และ มาตรา 601 เพื่อให้ผู้รับเหมารับผิดชอบความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ว่าจ้างได้ ดังนี้

  • มาตรา 587 อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
  • มาตรา 593 ถ้าผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการในเวลาอันควร หรือทำการชักช้า    ฝ่าฝืนข้อกำหนดแห่งสัญญาก็ดี หรือทำการชักช้าโดยปราศจากความผิดของผู้ว่าจ้าง จนอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าการนั้นจะไม่สำเร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้ มิพักต้องรอคอยให้ถึงเวลากำหนดส่งมอบของนั้นเลย
  • มาตรา 599 ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดีท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร
  • มาตรา 600 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาไซร้ท่านว่าผู้รับจ้างจะต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง เพียงแต่ที่ปรากฏขึ้นภายในปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบ หรือที่ปรากฏขึ้นภายในห้าปี ถ้าการที่ทำนั้นเป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดิน นอกจากเรือนโรงทำด้วยเครื่องไม้ แต่ข้อจำกัดนี้ท่านมิให้ใช้บังคับเมื่อปรากฏว่า  ผู้รับจ้างได้ปิดบังความชำรุดบกพร่องนั้น
  • มาตรา 601 ท่านห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่ง นับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น
 

ด้านคดีอาญา

     ผู้ว่าจ้างสามารถฟ้องผู้รับเหมาให้เป็นคดีอาญาได้ใน 3 กรณีต่อไปนี้

  1. มีความผิดฐานฉ้อโกง กรณีผู้รับเหมาทิ้งงานและหลอกเอาเงินผู้ว่าจ้างไปในลักษณะที่ไม่เป็นความจริงหรือโดยทุจริต
  2. การมีความผิดฐานก่อให้เกิดพยันตราย ได้แก่การที่ผู้รับเหมาทิ้งงานไปเพราะทำงานไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยซึ่งอาจเกิดอันตราย
  3. มีความผิดฐานลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้รับเหมาทิ้งงานไปเพราะเอาวัสดุสิ่งของ ของผู้ว่าจ้างไป

ผู้รับเหมาทิ้งงาน แต่ไม่มีสัญญา ทำไงได้บ้าง

  ผู้รับเหมาทิ้งงาน แม้ไม่ได้ทำสัญญาก็สามารถฟ้องดำเนินคดีได้  โดยสามารถใช้พยานบุคคลในการสืบ หรือภาพถ่าย หรือพยานวัตถุอื่น เข้าสืบเพื่อให้ได้ความจริงโดยไม่มีสัญญาว่าจ้างก็สามารถทำได้

ผู้รับเหมาทิ้งงาน มีอายุความนานไหม

   การฟ้องร้องกรณีผู้รับเหมาทิ้งงานจะมีอายุความ 2 ปี ส่วนการฟ้องร้องเพื่อให้ผู้รับเหมารับผิดชอบที่ส่งงานไม่ได้มาตรฐาน หรืองานชำรุดบกพร่อง จะมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ความชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นหรือรู้ตัวว่าเกิดขึ้น

    บริษัท สำนักกฎหมายธนกฤช จำกัด  บริษัททนายความ สำนักกฎหมายธนกฤช บริการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย บริการร่างสัญญา ตรวจสอบสัญญา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญา เจรจา ไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้สิน โดยทีมงานที่มีความรู้และมีความชำนาญ

สำนักงานกฎหมายธนกฤช

25 ซอยเจริญนคร 36 ถนนเจริญนคร แขวงบางลำภูล่าง กรุงเทพมหานคร 10600

สาระความรู้กฏหมาย